การพัฒนาความร่วมมือในระดับภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่างๆ ธุรกิจปศุสัตว์ในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาคเอกชนมีความเข้มแข็ง สังเกตได้จาก ถึงแม้จะมีเหตุการณ์ที่กระทบต่อธุรกิจต่างๆ เช่น เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองแต่ก็ไม่ค่อยมีผลกระทบต่อธุรกิจมากนัก และองค์กรต่างๆจำเป็นจะต้องให้ความร่วมมือ เช่น ต้องรีบดำเนินสร้าง Road Map ในอุตสาหกรรมของตัวเอง การสร้างองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการเริ่มจากภาครัฐจะต้องให้ความสนับสนุน และประสานกับสมาคมต่างๆทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งทำได้โดยการใช้การเจรจาทางธุรกิจ หรือไปศึกษาดูงานที่ต่างประเทศ จะทำให้ได้มีโอกาสพบบุคลากรมากมาย เป็นการสร้างเครือข่าย จะเป็นผลให้มีโอกาสทำปศุสัตว์ได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถเริ่มต้นเองระดับสมาคมได้ เมื่อเริ่มแล้วมีแผนชัดเจน สามารถขอการสนับสนุนจากภาครัฐได้
การวางเกณฑ์และแก้ปัญหา Non-tariff Barriers มีการวางหลักเกณฑ์ ในการทำข้อตกลงระหว่างประเทศว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกำแพงภาษีระหว่างประเทศสมาชิกให้ต่ำลง และลดอุปสรรคที่ไม่ใช้ภาษีให้มีกฎเกณฑ์ที่สามารถกำกับกันได้
การจัดการโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ การควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากมีโรคใหม่เกิดขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ ถ้ามีความรู้ก็จะสามารถสังเกตเห็นได้ได้ทันและสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ทันท่วงที ถึงแม้จะเป็นความเสียหายเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นก็ตาม โดยเฉพาะโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ โรคไข้หวัดนก, โรค EMS ในกุ้ง, โรคปากเท้าเปื่อยในสุกร วัว และโรคนิวคาสเซิลในไก่ไข่ ไก่เนื้อ
การวิจัยพัฒนาต้นน้ำพ่อแม่พันธ์ประเทศไทยประสบปัญหาในการผลิตพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ดีมากๆ ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อที่ว่าต้องเอาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาจากต่างประเทศ ดังนั้นทางภาครัฐจำเป็นที่จะต้องเข้ามาส่งเสริมการพัฒนาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีคุณภาพที่ดี เพื่อให้ได้ลูกที่ผลิตออกมามีคุณภาพที่ดีและมีจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ได้รับกำไรมากขึ้น การบริหารปัจจัยการผลิตและวัตถุดิบอาหารสัตว์ วัตถุดิบเป็นปัจจัยการผลิตหนึ่งที่สำคัญ มีผลต่อคุณภาพของสัตว์ที่ผลิตออกมาได้ ซึ่งส่วนประกอบอาหารสัตว์หลักๆ เช่น ข้าวโพด ยังขาดแคลนในช่วงนอกฤดูกาลที่มีผลการผลิตต่ำ และกากถั่วเหลืองที่มีผลผลิตในประเทศต่ำลงทุกๆ ปี โดยในปีนี้น่าจะมีผลผลิตไม่ถึง 70,000 ตัน จากความต้องการกว่า 2,000,000 ตันต่อปี