ฟาร์มโคนม อาชีพทางเลือกใหม่ของเกษตรกร

ฟาร์มโคนมในไทยเป็นอาชีพที่ค่อนข้างใหม่สำหรับเกษตรกรบ้านเรา แต่ในความเป็นจริงแล้วมีการทดลองเลี้ยงโคนมในไทยมากว่า 50 ปีมาแล้ว แต่ยังคงไม่สำเร็จ เพราะมีปัญหาบางประการ จนกระทั่งปี พ.ศ.2508 อาชีพการเลี้ยงโคนมได้มีการฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง

เกษตรกรสามารถยึดอาชีพการเลี้ยงโคนมอาจยึดเป็นอาชีพหลักได้ หรืออาจเป็นอาชีพรองก็ได้ หรือจะทำควบคู่กันไปเพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีเกษตรกรหลายรายได้รับรายได้มากมายมหาศาลจนทำให้ เกษตรกรเริ่มหันมาเลี้ยงโคนมกันมากขึ้น เพราะได้เห็นตัวอย่างจากผู้ที่ทำอาชีพเลี้ยงโคนม อีกทั้งยังช่วยให้คนในครอบครัวมีฐานะที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกฝังให้เด็ก ๆ มีจิตใจรักสัตว์ มีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น

การเลี้ยงโคนมสำหรับผู้เริ่มต้น มีดังนี้

1.ทุนสำหรับเชื้อโรค

2.ทุนสำหรับสร้างโรงเรือนหรือคอกสัตว์

3.ทุนสำหรับการเตรียมแปลงหญ้าเป็นอาหาร

4.ทุนสำหรับการหาแหล่งน้ำหรือการชลประทาน

5.ทุนสำหรับรับรองจ่าย ซึ่งหมายถึงทุนหมุนเวียน เช่น ค่าอาหารหรือค่าแรงงานต่าง ๆ

การเลี้ยงโคนมสามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละบุคคล เช่น เริ่มต้นโดยหาซื้อลูกโคนมพันธุ์ผสมเพศเมียมาเลี้ยงโดยอาศัยนมเทียมหรือหางนมผงละลายน้ำให้กิน ในปริมาณจำกัด พร้อมทั้งให้อาหารข้นลูกโคอ่อนและหญ้าจนกระทั่งหย่านมถึงอายุผสมพันธุ์ ตั้งท้อง คลอดลูก และเริ่มรีดนมได้ หรือเริ่มต้นโดยการจัดซื้อโคนมอายุเมื่อหย่านม, โครุ่น, โคสาว หรือโคสาวที่เริ่มตั้งท้องหรือแม่โคที่เคย ให้นมแล้วจากฟาร์มใดฟาร์มหนึ่งมาเลี้ยง วิธีนี้ใช้ทุนค่อนข้างสูงแต่ให้ผลตอบแทนที่เร็ว

ในการเลือกซื้อโคนมต้องสอบถามประวัติและสายพันธุ์ให้ดี และควรตรวจโรคก่อนรับเข้ามาเลี้ยง โคนมบางประเภทไม่สามารถให้นมได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบให้ดี แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเลี้ยงด้วยวิธีใด ควรมีการไตร่ตรองให้ดี เพื่อให้ได้โคนมที่มีประสิทธิภาพ และขยายพันธุ์ในอนาคต