การทำฟาร์มปศุสัตว์ในอนาคตจะต้องคำนึงถึงมาตรฐานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

จากกระแสโลกมุ่งเน้นไปที่การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

ส่งผลให้มีการยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมตามไปด้วย และการลงทุนในด้านสิ่งแวดล้อมย่อมต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลเพื่อให้ผ่านการรองรับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม กฎเกณฑ์เหล่านี้จะเป็นตัวคัดกรองผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หากไม่มีเงินลงทุนที่สูงพอแล้ว แทบจะมองไม่เห็นหนทางที่จะได้เป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสัตว์เลย เพราะหากไม่ลงทุนในด้านสิ่งแวดล้อมและทำความเข้าใจกับผู้คนรอบด้านแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการต่อต้านจากชุมชน-ท้องถิ่นที่ตั้งของฟาร์มนั้นๆ

ปัจจุบันคนไทยประสบปัญหาต่างๆมากมาย

ทั้งทางด้านภัยธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ความยากจนจึงเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข แต่การใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวทางที่ในหลวงทรงแนะนำกับเกษตรกร และประชาชนทั่วไปเป็นแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาและทำให้สามารถอยู่แบบพึ่งพาตนเองได้ การทำการเกษตรแบบพอเพียงมีหลากหลายรูปแบบเช่นการทำการเกษตรแบบทฤษฎีใหม่โดยการจัดพื้นที่ให้เหมาะสม การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การทำการเกษตรอินทรีย์ วนเกษตร และเกษตรธรรมชาติ ดังนั้นการอบรมให้ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เข้ารับการอบรมจึงช่วยให้ผู้อบรมมีความรู้และประสบการณ์ในการทำฟาร์มปศุสัตว์แบบพอเพียงได้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้

ความยากลำบากในการประกอบอาชีพทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในอนาคตจากการถูกบีบให้เข้าหลักเกณฑ์รักษาสิ่งแวดล้อม จะส่งผลให้กลุ่มฟาร์มรายย่อยมีจำนวนน้อยลง แต่เกษตรกรรายย่อยก็ยังมีทางออกและสามารถอยู่รอดได้ โดยการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนในรูปสหกรณ์หรือนิติบุคคล เพื่อให้เกิดความร่วมมือและเพิ่มศักยภาพในการผลิตและการตลาด หากมีพลังมากๆก็สามารถกลายเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ได้เช่นกัน แม้ราคาจะสูงขึ้นจากต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม แต่ผู้บริโภคในอนาคตก็คงพร้อมที่จะจ่ายให้แก่ผลิตภัณฑ์ที่มีการตระหนักในประเด็นนี้ ซึ่

ปัจจัยเสี่ยงของการทำธุรกิจปศุสัตว์

1)วัฏจักรของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ เนื่องจากสินค้าปศุสัตว์เป็นสินค้าโภคภัณฑ์เก็บไม่ได้ มีขึ้นลงขึ้นกับอุปสงค์และอุปทาน หากอุปทานขาด 5% ราคาขึ้นไปได้ถึง 15-20% หรือหากอุปทานเหลือ 5-10% ราคาก็ลงได้ถึง 15-20% ได้เช่นเดียวกัน
2)วัตถุดิบอาหารสัตว์โดยเฉพาะ ข้าวโพด-กากถั่วเหลือง-มันสำปะหลัง ได้ถูกนำไปใช้เพื่อผลิตเป็นเอทานอล ทำให้วัตถุดิบขาดแคลนเพราะเครื่องยนต์มาแย่งสัตว์กิน และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนค่าขนส่ง
3)ปัญหาโลกร้อนส่งผลให้อุณหภูมิภายในโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบทำให้ฝนตกไม่เป็นไปตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้งยาวนานขึ้น เกิดโรคระบาดแมลงศัตรูพืชหรือพายุอย่างรุนแรง
4)การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลต่อราคาสินค้าทุกตัวที่ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งปัญหาโลกร้อนที่ก่อให้เกิดความขาดแคลนอาหารในหลายพื้นที่ได้ร่วมกันแย่งอุปทานในตลาด
5)รัฐบาลชุดที่ผ่านมาเป็นรัฐบาลลักษณะชั่วคราว ทำให้ไม่สามารถอนุมัติงบฯและโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้
6)ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ในอนาคตหากวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น
7)ปัญหาโรคระบาดและคุณภาพของวัตถุดิบ เนื่องจากปศุสัตว์ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของโรคระบาดโดยเฉพาะการเลี้ยงสุกร