Category Archives: การปศุสัตว์

การเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดในสัตว์

b4-ok(1)
ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยมีความแปรปรวนในหลายพื้นที่ ซึ่งส่งผลให้สัตว์ต่างๆ เช่น โค กระบือ แพะ แกะ สุกร เกิดความเครียด และมีผลต่อระดับภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายสัตว์อ่อนแอ โดยเฉพาะสัตว์ที่ต้องเดินทางหรือเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง สัตว์ที่ไม่แข็งแรงจะไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย และยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้โรคระบาดต่างๆแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นได้อีกด้วย ซึ่งการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดสัตว์นั้นจำแนกเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมโรคในสัตว์ใหญ่และสัตว์ปีก

ปัญหาโรคที่เกิดกับสัตว์อีกหลายโรคที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเกิดการระบาด ทำให้โรคแพร่กระจายไปตามภูมิภาคต่างๆของประเทศ ทั้งรัฐบาลและเอกชนผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ก็ได้เฝ้าระวัง หาวิธีป้องกันการระบาดของโรคสัตว์เพื่อให้ทราบสาเหตุของการเกิดโรค ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่กระจายของโรค โดยการเฝ้าระวังและสังเกตการณ์เพื่อหาวิธียับยั้งการระบาดของโรคสัตว์ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลปศุสัตว์ของตนให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง โดยต้องดูแลในเรื่องการจัดการโรงเรือนหรือคอกสัตว์ที่ดี มีหลังคาป้องกันฝน ลม ละอองฝนได้เป็นอย่างดี มีการจัดเตรียมน้ำ อาหาร ยา และเวชภัณฑ์ให้พร้อมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรง และที่สำคัญต้องพ่นยาฆ่าเชื้อทุกครั้งเข้าและออกจากบริเวณฟาร์ม และเข้มงวดเรื่องคนงานในเล้าคลอด ห้ามปะปนกับส่วนอื่น รวมทั้งเข้มงวดเรื่องการฆ่าเชื้อก่อนเข้าโรงเรือน

ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคในสัตว์

1.ชนิดและคุณสมบัติของตัวเชื้อโรค เชื้อโรคบางชนิดมีความรุนแรงน้อยบางชนิด มีความรุนแรงมากและถึงแม้จะเป็นเชื้อชนิดเดียวกัน ถ้าสภาวะแตกต่างกันความรุนแรงของโรค ก็อาจแตกต่างกันได้
2.ปริมาณของเชื้อที่สัตว์ได้รับเข้าไป ถ้าสัตว์ได้รับเชื้อในปริมาณที่มากหรือได้รับเชื้ออยู่ตลอดเวลาโอกาสที่จะเกิดโรคก็มากขึ้นด้วย
3.วิถีทางที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อโรคบางชนิดมีความเหมาะสมในการก่อให้เกิดโรคได้ดี ถ้าเชื้อนั้นเข้าร่างกายโดยวิธีทางจำเพาะของมันแต่ถ้าเข้าไม่ถูกทางโรคอาจจะไม่เกิดขึ้น
4.ภูมิคุ้มกันของร่างกายสัตว์เอง ถ้าสัตว์มีระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อเชื้อโรคได้ดี โอกาสเกิดโรคก็ลดลง
5.การจัดการด้านสุขาภิบาลที่ดี เช่น การทำความสะอาด พ่นยาฆ่าเชื้อเป็นประจำ ดูแลสภาพแวดล้อมในโรงเรือนให้เหมาะสม ไม่ร้อน อบอ้าวเกินไป หลีกเลี่ยงการทำให้สัตว์เครียด ฯลฯ

แนวโน้มการเลี้ยงโคนมในปัจจุบัน

ในปัจจุบันนี้ธุรกิจโคนมกลายมาเป็นธุรกิจที่เกษตรกรต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากภาครัฐบาลได้มีโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในจุดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นและธุรกิจการสั่งโคนมจากต่างประเทศเข้ามาค้าขายก็เริ่มมากขึ้น ทั้งนี้เป็นที่คาดการณ์ธุรกิจนี้จะได้ระบความนิยมไปอีกยาวนาน  เนื่องจากสภาวะราคานมผงและหางนมผงในตลาดโลกได้สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ด้วยกลไกภายในประเทศของผู้ส่งออกรายใหญ่ อย่างเช่น สหรัฐและกลุ่มประเทศประชาคมยุโรป ในการควบคุมสินค้า สำหรับการขยายตัวของการเลี้ยงโคนมส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มจำนวนของลูกฟาร์มของธุรกิจภาคเอกชนที่ทำธุรกิจระบบครบวงจรโดยเฉพาะบริษัทที่มีเป้าหมายการใช้น้ำนมดิบเพื่อการแปรรูปตามแผนที่ตั้งไว้สำหรับอนาคต  เมื่อมองที่ธุรกิจการผลิตนมพร้อมดื่มในปัจจุบัน ซึ่งการแข่งขันกันในแง่การตลาดกำลังทวีความเข้มข้นขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้ถ่ายผู้ซื้อน้ำนมดิบจากกลุ่มเกษตรกรแทนผู้รับซื้อเจ้าเดิม ในแง่ผู้เลี้ยงเองแนวโน้มของความอิ่มตัวของตลาดนมพร้อมดื่มก็ใกล้เข้ามาแล้วถึงแม้การแปรรูปน้ำนมดิบเป็นนมผงได้เป็นเป้าหมายที่หลาย ๆ จากแนวโน้มที่จะสูงขึ้นแทบที่จะเป็นเดือนต่อเดือน เพราะฉะนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจำเป็นที่จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้นกว่าเดิม  เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อตัวได้มากขึ้นและลดต้นทุนต่อหน่วยของน้ำนมให้ต่ำลงซึ่งทั้งนี้จะต้องอาศัยการเลี้ยงและการจัดการอย่างเป็นวิชาการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฟาร์มระดับเล็กหรือใหญ่ ถ้าคิดจะเลี้ยงโคนมจะต้องกระโดดลงมาเล่นเองแล้วศึกษาวิทยายุทธ์ไปเรื่อย ๆ จึงจะสำเร็จแต่ถึงกระโดดลงมาเลี้ยงเองถ้าไม่พัฒนาความรู้ตัวเองให้ทันกับยุคสมัยที่เขาจะเลี้ยงโคนมที่ให้นมสูง ๆนั้น เอาแต่เลี้ยงไปแบบไม่ค่อยได้ใส่ใจสักเท่าไรจะส่งผลให้ โคก็ผอมโทรมและก้ได้ปริมาณน้ำนมน้อยอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นควรพร้อมในเรื่องเวลาที่จะให้กับกิจการและความสนใจในศิลปะและศาสตร์ของการเลี้ยงโคนมจะเป็นตัวหลักที่ชี้ว่าจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่

สิ่งสำคัญก่อนตัดสินใจที่จะทำธุรกิจโคนม คือ

1.ทำเลที่จะเลี้ยง จะต้องอยู่ใกล้แหล่งรับซื้อนม เพราะสามารถนำส่งถึงแหล่งรับนมโดยเร็วหลังจากรีดเสร็จ และทำเลที่เลี้ยงก็จะต้องมีปริมาณพื้นที่ที่จะทำแปลงหญ้าได้ด้วย

2.เงินทุน ส่วนใหญ่จะใช้ไปในการซื้อแม่โคนมและค่าโรงเรือน

3.พันธุ์โค เนื่องจากอยู่ในสภาวะที่ขาดแคลนพันธุ์โคนม โดยเฉพาะโคนมลูกผสมที่เกิดขึ้นในประเทศ

4.การเข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับผู้เริ่มต้นเลี้ยงโคนม เพราะในกระบวนการเลี้ยงดูและการจัดการเป็นเรื่องใหม่ที่แตกต่างไปจากการเลี้ยงโคเนื้อหรือโคพื้นเมืองทั้งความละเอียดอ่อนในแง่มุมต่าง ๆ

การส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย

1773_1
ปัจจุบันมีการพัฒนาสัตว์เศรษฐกิจใหม่ขึ้นอีกหลายชนิดทั้งจากการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ เช่น หมูป่า และการนำเข้ามาจากต่างประเทศ นกกระจอกเทศ ซึ่งสามารถนำมาเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ โดยมีแนวโน้มจะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต เพราะสามารถนำทุกส่วนมาทำเป็นผลผลิตขายได้ การเลี้ยงสัตว์จัดได้ว่าเป็นอาชีพที่ทำกันอย่างแพร่หลายกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย สัตว์เศรษฐกิจที่นิยมเลี้ยงมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ทั้งเลี้ยงเพื่อบริโภคภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ โดยการเลี้ยงสัตว์สามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยถือได้ว่ามีศักยภาพและใช้เทคโนโลยีเทียบเท่ากับนานาประเทศ เนื่องจากผลผลิตที่ผลิตได้จากประเทศไทยสามารถตอบสนองต่อความต้องการบริโภคและสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพตามมาตรฐานทั้งจากยุโรปหรืออเมริกา

สัตว์เลี้ยงจำพวกโคกระบือ สุกร ไก่และเป็ด ล้วนมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นสินค้าจำหน่ายเพื่อการบริโภค เนื้อ นม ไข่ โดยตรงแล้ว ยังมีผลพลอยได้หลายชนิดทำเป็นเครื่องอุปโภคและเครื่องใช้ได้หลาย ๆประเภท สินค้าบางชนิดมีปริมาณมากจนกระทั่งสามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ด้วย นับว่าผลผลิตจากสัตว์นี้ช่วยลดการเสียดุลการค้าได้ประการหนึ่ง ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของประชากรไทยมีอาชีพทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ แม้ว่าจำนวนผู้ประกอบอาชีพเกษตรจะมีแนวโน้มลดลงอันเป็นผลมาจากทิศทางของระบบเศรษฐกิจไทยมุ่งไปสู่การประกอบการด้านอุตสาหกรรม การเลี้ยงสัตว์นับเป็นอาชีพที่สำคัญของเกษตรกรไทย

หลักการเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย

1.ความต้องการของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณและกลุ่มเป้าหมายของผู้บริโภค
2.ต้นทุนการผลิต เป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตทั้งหมด รวมทั้งแหล่งการเงินซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินการ ราคาต้นทุนสูงแต่ผลผลิตต่ำหรือไม่แน่นอนก็ไม่ควรตัดสินใจ
3.ความรู้และทักษะของผู้ผลิต เป็นสิ่งสำคัญมากเนื่องจากการเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตต้องมีทักษะและเทคนิคชั้นสูงรวมทั้งเทคโนโลยีจึงจะไปได้รอด ความรู้และวิชาการสมัยใหม่เป็นสิ่งจำเป็น
4.เปิดโลกทัศน์การเลี้ยงสัตว์ตัวใหม่ ถ้าเป็นผู้ริเริ่มเป็นคนแรก และมีตลาดรองรับ โอกาสที่จะประสบผลสำเร็จเป็นไปได้สูงมาก
5.สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องเหมาะสมกับสัตว์แต่ละประเภท รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆด้วย

ฟาร์มโคนม อาชีพทางเลือกใหม่ของเกษตรกร

ฟาร์มโคนมในไทยเป็นอาชีพที่ค่อนข้างใหม่สำหรับเกษตรกรบ้านเรา แต่ในความเป็นจริงแล้วมีการทดลองเลี้ยงโคนมในไทยมากว่า 50 ปีมาแล้ว แต่ยังคงไม่สำเร็จ เพราะมีปัญหาบางประการ จนกระทั่งปี พ.ศ.2508 อาชีพการเลี้ยงโคนมได้มีการฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง

เกษตรกรสามารถยึดอาชีพการเลี้ยงโคนมอาจยึดเป็นอาชีพหลักได้ หรืออาจเป็นอาชีพรองก็ได้ หรือจะทำควบคู่กันไปเพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีเกษตรกรหลายรายได้รับรายได้มากมายมหาศาลจนทำให้ เกษตรกรเริ่มหันมาเลี้ยงโคนมกันมากขึ้น เพราะได้เห็นตัวอย่างจากผู้ที่ทำอาชีพเลี้ยงโคนม อีกทั้งยังช่วยให้คนในครอบครัวมีฐานะที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกฝังให้เด็ก ๆ มีจิตใจรักสัตว์ มีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น

การเลี้ยงโคนมสำหรับผู้เริ่มต้น มีดังนี้

1.ทุนสำหรับเชื้อโรค

2.ทุนสำหรับสร้างโรงเรือนหรือคอกสัตว์

3.ทุนสำหรับการเตรียมแปลงหญ้าเป็นอาหาร

4.ทุนสำหรับการหาแหล่งน้ำหรือการชลประทาน

5.ทุนสำหรับรับรองจ่าย ซึ่งหมายถึงทุนหมุนเวียน เช่น ค่าอาหารหรือค่าแรงงานต่าง ๆ

การเลี้ยงโคนมสามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละบุคคล เช่น เริ่มต้นโดยหาซื้อลูกโคนมพันธุ์ผสมเพศเมียมาเลี้ยงโดยอาศัยนมเทียมหรือหางนมผงละลายน้ำให้กิน ในปริมาณจำกัด พร้อมทั้งให้อาหารข้นลูกโคอ่อนและหญ้าจนกระทั่งหย่านมถึงอายุผสมพันธุ์ ตั้งท้อง คลอดลูก และเริ่มรีดนมได้ หรือเริ่มต้นโดยการจัดซื้อโคนมอายุเมื่อหย่านม, โครุ่น, โคสาว หรือโคสาวที่เริ่มตั้งท้องหรือแม่โคที่เคย ให้นมแล้วจากฟาร์มใดฟาร์มหนึ่งมาเลี้ยง วิธีนี้ใช้ทุนค่อนข้างสูงแต่ให้ผลตอบแทนที่เร็ว

ในการเลือกซื้อโคนมต้องสอบถามประวัติและสายพันธุ์ให้ดี และควรตรวจโรคก่อนรับเข้ามาเลี้ยง โคนมบางประเภทไม่สามารถให้นมได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบให้ดี แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเลี้ยงด้วยวิธีใด ควรมีการไตร่ตรองให้ดี เพื่อให้ได้โคนมที่มีประสิทธิภาพ และขยายพันธุ์ในอนาคต

 

การทำปศุสัตว์ของไทยยังต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีช่วยให้สัตว์เจริญเติบโต

การทำปศุสัตว์ของไทยยังต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีช่วยให้สัตว์เจริญเติบโตไม่มีโรคภัย ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค แนวทางการนำงานวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อช่วยพัฒนาวงการปศุสัตว์ไทยจึงเกิดขึ้น โดยเป็นฝีมือของนักวิจัยไทยที่สามารถผลิต “เอนไซม์อาหารสัตว์” มาช่วยเสริมสร้างให้สัตว์เลี้ยงแข็งแรง และเป็นการลดการนำเข้าเอนไซม์ราคาแพงจากต่างประเทศ ช่วยให้วงการปศุสัตว์ไทยก้าวไกลไปอีกขั้น

เอนไซม์สำหรับเสริมเข้าไปในอาหารสัตว์เพื่อให้สัตว์เจริญเติบโตได้ดี คือ เมื่อสัตว์ได้รับเอนไซม์เข้าไปจะช่วยย่อยอาหารได้ดีขึ้น เนื่องจากสัตว์จะขาดเอนไซม์ในบางกลุ่มที่จำเป็นในการย่อยคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่แป้ง อย่างเปลือกพืช กากเมล็ดธัญพืชที่เหลือจากการแปรรูป ที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ต่างๆ เช่น กาก รำ ฯลฯ อาหารจำพวกนี้สัตว์จะไม่สามารถย่อยได้ ดังนั้นถ้าเราให้อาหารเหล่านี้โดยไม่เสริมเอนไซม์ สัตว์จะดูดซึมอาหารไม่ได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้สัตว์มีสุขภาพไม่แข็งแรงและผลผลิตที่ได้ก็จะต่ำ”

จึงได้พัฒนากระบวนการผลิตเอนไซม์ในสภาวะที่เหมาะสมและเลือกใช้จุลินทรีย์ที่ ดีเพื่อนำมาผสมอาหารสัตว์ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ เป็นการเสริมสร้างให้เกิดการใช้เทคโนโลยีการหมักในระดับอุตสาหกรรมเพื่อ ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และทดแทนการนำเข้าเอนไซม์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมสัตว์จาก ต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์เอนไซม์แต่ละชนิดมีความจำเพาะและความคงทนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาและชนิดของจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิต อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์ ทำให้ได้ผลและความคุ้มค่าในการนำมาใช้แตกต่างกัน อาทิ ผลิตภัณฑ์เอนไซม์ที่พัฒนาในต่างประเทศ โดยใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ไม่ใช้ในประเทศไทย ก็จะมีความจำเพาะน้อยกว่าเมื่อนำเอนไซม์เหล่านี้เข้ามาใช้ในประเทศ อีกทั้งยังทำให้เราจะต้องสูญเสียดุลการค้าเพื่อนำเข้าในราคาแพง

นอกจากนี้เอนไซม์ที่ผลิตจากต่างประเทศส่วนใหญ่จะผลิตจากจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้จากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้อาจไม่ทนต่อสภาพแวดล้อมในประเทศไทยที่อากาศร้อน ส่งผลต่อเอนไซม์เสื่อมสภาพ มีประสิทธิภาพลดลง เมื่อนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น”

กรมปศุสัตว์ได้สร้างผลงานโดดเด่นและทำให้ได้รับรางวัลทุกปี

18

โดยที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ได้สร้างผลงานโดดเด่นและทำให้ได้รับรางวัลทุกปี นั่นเป็นเพราะกรมปศุสัตว์มีเป้าหมายชัดเจนในการพัฒนางาน เพื่อให้เกิดความสุข แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ประชาชน สังคมและประเทศชาติ รวมทั้งมุ่งมั่นพัฒนาให้เกิดผลลัพธ์ คือ สินค้าปศุสัตว์มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย มีความเพียงพอ และสามารถแข่งขันได้ ด้วยกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม มีการวางแผนและพัฒนาปรับปรุงกระบวนงานและสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการรณรงค์ร่วมกันปรับปรุงมาตรฐานการผลิตสินค้าเนื้อสัตว์ทั้งระบบ เป็นไปตามสุขอนามัย การผลิตในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ โรงงานแปรเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ มีส่วนช่วยผลักดันระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์ทั้งวงจร การผลิตให้มีมาตรฐานสากล ส่งผลให้ไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าปศุสัตว์รายใหญ่รายหนึ่งของโลก

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ซึ่งปัจจุบันรับผิดชอบดูแลงานในเรื่องมาตรฐานปศุสัตว์และสุขภาพของสัตว์ เปิดเผยว่า ตอนนี้ได้เข้ามารับผิดชอบดูแลใน 2 เรื่องคือเรื่องมาตรฐานปศุสัตว์และสุขภาพสัตว์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้สามารถดำเนินงานได้อย่างครบวงจร โดยการผลิตของปศุสัตว์ที่ครบวงจรในตอนนี้นั้น มีสิ่งสำคัญที่สุดที่จะผลักดันให้การส่งออกของปศุสัตว์ทะลุได้ถึงแสนล้านนั้น มีอยู่ 3 เรื่องใหญ่คือ 1.การควบคุมโรค ซึ่งในส่วนของการควบคุมโรคในสัตว์ ในตอนนี้ กรมปศุสัตว์ทำได้ผลจนเป็นที่น่าพอใจขององค์การระบาดสัตว์ โดยเฉพาะเรื่องไข้หมดนก ที่จนถึงขณะนี้ไม่ปรากฏโรคไข้หวัดนกมาเป็นเวลานานถึง 6 ปี จึงทำให้ไทยสามารถที่จะส่งออกเนื้อสัตว์ปีกรายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยเฉพาะ ไก่ ที่สามารถส่งออกไปทั้งประเทศยุโรปและญี่ปุ่น ได้ถึงปีละประมาณ 7-8 หมื่นล้าน ถ้ารวมไก่สดและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยงและสุกร ก็จะได้ประมาณ 1 แสน 3 หมื่นล้าน นี่เป็นผลมาจากกรมฯ สามารถดูแลสุขภาพสัตว์ได้ดีนั่นเอง

ในเรื่องของสุขภาพสัตว์นั้น กรมฯ มีเจ้าหน้าที่ ตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบลคอยดูแลอย่างใกล้ชิด สำหรับปศุสัตว์ตำบลนั้น ก็จะมีอาสาประจำหมู่บ้านที่ช่วยกันดูแลในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งทำให้เราสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ และสามารถควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว อีกอย่างหนึ่งก็คือเรามีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นสัตว์ปีก สุกรและโค กระบือ ซึ่งอันนี้เรามีการฉีดเพื่อป้องกันโรคพื้นฐานให้หมด เพราะฉะนั้นทำให้เราสามารถที่จะควบคุมโรคต่างๆ ได้ ถ้าเกิดโรคขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นปากเท้าเปื่อย หรือโรคคอบวม ก็สามารถที่จะควบคุมโรคได้อย่างดี แต่ในส่วนของสุกร เนื่องจาการผลิตสุกร จะเป็นลักษณะอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเป็นรายใหญ่ ทำให้มีการดูแลอย่างเป็นระบบเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ก็ไม่มีปัญหา และนี่คือเรื่องการดูแลสุขภาพของกรมฯ

โรคปากและเท้าเปื่อยเป็นโรคระบาดที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่งสัตว์ซึ่งสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก

18

เนื่องจากในปัจจุบัน สภาพภูมิอากาศในประเทศไทยมีความแปรปรวน ฝนตกหนัก อุณหภูมิเริ่มลดลง ในหลายพื้นที่ ซึ่งสภาพอากาศดังกล่าวส่งผลให้สัตว์ต่างๆ เช่น โค กระบือ แพะ แกะ สุกร เกิดความเครียด และมีผลต่อระดับภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายสัตว์อ่อนแอ โดยเฉพาะสัตว์ที่ต้องเดินทาง หรือเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง สัตว์ที่ไม่แข็งแรงจะไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ ทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย และยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้โรคระบาดต่างๆ แพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นได้อีกด้วย ซึ่งการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดสัตว์นั้น จำแนกเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมโรคในสัตว์ใหญ่ และสัตว์ปีก โดยอันดับแรกจะขอกล่าวถึงในสัตว์ใหญ่ว่า โรคระบาดสัตว์ที่อาจจะพบได้ในช่วงนี้ ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) โรคเฮโมเรยิกเซฟติกซีเมีย หรือโรคคอบวม และโรคพี อาร์ อาร์ เอส หรือ โรคเพิร์ส ดังนั้น จึงขอให้เกษตรกรทำความรู้จักกับโรคระบาดที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น ดังนี้

โรคปากและเท้าเปื่อย เป็นโรคระบาดที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่งของ โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ซึ่งสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก เนื่องจากติดต่อได้เร็วและควบคุมให้สงบลงได้ยาก โรคนี้ไม่ทำให้สัตว์ถึงตาย แต่สุขภาพทรุด-โทรม ผลผลิตลดลง มีสาเหตุ เกิดจาการติดเชื้อไวรัส สามารถติดต่อได้จากการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ หรือการหายใจเอาเชื้อที่ปะปนอยู่ในอากาศเข้าไป นอกจากนี้การเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นโรคจะทำให้เชื้อแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงติดต่อผ่านทางยานพาหนะ คน เสื้อผ้า อุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ต่างๆด้วย เมื่อสัตว์ได้รับเชื้อโรคนี้แล้วจะมีอาการน้ำลายไหล เกิดเม็ดตุ่มที่เยื่อเมือกต่างๆ เช่น บริเวณปาก จมูก กีบ  ทำให้สัตว์เกิดความเจ็บปวด กินอาหารไม่ได้ เดินกระเผลก กีบหลุด ซูบผอม โตช้า แท้งลูก ผสมไม่ติด ส่วนการรักษานั้น ทำได้โดยใส่ยารักษาแผลที่ปากและเท้า ร่วมกับการฉีดยาปฏิชีวนะจะทำให้สัตว์หายป่วยเร็วขึ้น  เกษตรกรสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยในโค กระบือ แพะ แกะ สุกร ทุกๆ 6 เดือน

 

 

การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านการเกษตร ปศุสัตว์ อุตสาหกรรม

การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และโดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ใช้ประโยชน์มากที่สุดในการผลิตยาชนิดใหม่ และวิธีการรักษาพยาบาลแบบใหม่ ดังต่อไปนี้

1. ด้านการเกษตร มีดังนี้

1.1 การผสมเทียมและการถ่ายฝากตัวอ่อน กรมปศุสัตว์ได้ปรับปรุงพันธุ์โคนมด้วยเทคโนโลยีชีวภาพการผสมเทียม และการถ่ายฝากตัวอ่อน ทำให้ลดการนำเข้าพันธุ์โคจากต่างประเทศได้ และได้ปรับปรุงพันธุ์ด้วยการผลิตโคลูกผสม โคเนื้อ และโคนม 3 สายเลือด

1.2 การปรับปรุงพันธุ์ ได้มีการสร้างสุกรสายพันธุ์ใหม่ให้มีลักษณะดี และเจริญเติบโตเร็ว ด้วยการปรับปรุงสายพันธุ์เป็นสุกรลูกผสม เช่น สุกรสายพันธุ์ปากช่อง B เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์เปียแตรง

2. ด้านอุตสาหกรรม มีดังนี้

2.1 พันธุวิศวกรรม เป็นการตัดต่อสายพันธุ์พันธุกรรมที่มีลักษณะดีตามที่ต้องการและคัดเลือกมาแล้วเพื่อการปรับปรุงสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ เพื่อเพิ่มผลผลิต ยารักษาโรค วัคซีน ยาต่อต้านเนื้องอก น้ำยาสำหรับตรวจวินิจฉัยโรคและฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์

2.2 การถ่ายฝากตัวอ่อน เป็นการเพิ่มปริมาณและพัฒนาคุณภาพของโคเนื้อและโคนม เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตนมโคและเนื้อโค เพื่อแปรรูปเป็นนมผงและอาหารกระป๋อง

2.3 การผสมเทียมสัตว์น้ำและสัตว์บก การผสมเทียมปลาเพื่อเพิ่มปริมาณ และพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมอาหารกระป๋องและอาหารแปรรูปต่อไป

3. ด้านอาหาร ปัจจุบันมีอาหารที่เป็นผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมมาใช้ ดังนั้น จึงมีผู้เสนอให้ติดฉลากว่าเป็นอาหาร GMOs ให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกรับประทานเอง เช่น

– ข้าวที่มียีนต้านทานแมลง

– มะเขือเทศซึ่งมียีนที่ทำให้ยืดอายุการเก็บได้นานขึ้น

– ถั่วเหลืองที่มียีนต้านสารปราบวัชพืช

– ข้าวโพดที่มียีนต้านทานแมลง

นอกจากนี้ได้มีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตจากสัตว์ เข่น เนย นมเปรี้ยว โยเกิร์ต

4.ด้านการแพทย์ ในด้านการแพทย์จะใช้เทคโนโลยีชีวภาพด้านพันธุวิศวกรรมเป็นส่วนใหญ่

ดังตัวอย่างต่อไปนี้

– การตรวจวินิจฉัยโรคที่มียีนเป็นพาหะ เพื่อตรวจสอบโรคทาลัสซีเมีย โรคปัญญาอ่อน โรคโลหิตจาง และโรคมะเร็ง

– การตรวจสอบความเป็นพ่อ แม่ ลูก จากลายพิมพ์ของยีน หรือที่เรียกว่าการตรวจ DNA รวมไปถึงการสืบค้นคดีของกรมพิสูจน์หลักฐานในทางการแพทย์จาก DNA เพื่อหาตัวผู้กระทำความผิด

– การใช้ยีนบำบัดโรค เช่น การรักษาผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง การรักษาโรคการทำงานผิดปกติของไขกระดูก

– การค้นหายีนควบคุมการสร้างภูมิคุ้มกัน ยีนควบคุมความอ้วน และยีนควบคุมความชรา

ในการเลี้ยงสัตว์ให้ประสบความสำเร็จนั้น ล้วนต้องมีการคำนึงถึงผลกำไรที่สูงกว่าต้นทุนในการผลิต ซึ่งผลกำไรที่สูงขึ้นนั้นส่วนหนึ่งนั้นมาจากผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นด้วย และในการเพิ่มผลผลิตที่มากขึ้นนั้น มีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง คือพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของพันธุกรรมคือ การมีพันธุ์สัตว์ที่ดี ให้ผลผลิตสูง และในส่วนของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การอยู่ในสถานที่ที่ปลอดจากโรคระบาด ทำให้สัตว์แข็งแรงและให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งอาหารก็มีส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของสัตว์เป็นอย่างมาก จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาอาหารสัตว์ และใช้สารเสริมในอาหารสัตว์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิต สารเสริมอาหารสัตว์ ที่นิยมใช้ประเภทหนึ่งคือ สารต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) ซึ่งได้มีการนำมาใช้ เป็นเวลานานพอสมควรมาแล้ว เพราะได้มีการค้นพบว่า ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อนั้น หากนำมาใช้ในระดับต่ำกว่าปริมาณที่ใช้ในการรักษาโรค จะมีฤทธิ์เป็นสารเร่งการเจริญเติบโตได้ แต่เนื่องมาจากการที่สัตว์ได้รับสารต้านจุลชีพในระดับต่ำๆ เป็นเวลานานอาจจะก่อให้เกิดการพัฒนาของเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถดื้อยาในลำไส้ได้ และยังมีสารตกค้างในผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ปัจจุบันในต่างประเทศจึงได้มีการวางมาตรการควบคุมการใช้อย่างเข้มงวด โดยในประเทศ ในกลุ่มประชาคมยุโรป ไม่อนุญาตให้ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารสัตว์อีกต่อไป ซึ่งในปัจจุบันการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นเหตุผลหลักในการกีดกันทางการค้า

เทคโนโลยี ไบโอฟอค (biofloc) กับการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า


ปัจจุบันโลกมีประชากรประมาณ 7 พันล้านคน และมีความต้องการอาหารประเภทสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการขยายการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าแบบหนาแน่นจึงสูงตามไปด้วย เนื่องจากเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าจะมีของเสียเกิดขึ้นจำนวนมากทั้งของเสียจากอาหารที่สัตว์นํ้าไม่กินและของเสียจากการขับถ่ายของสัตว์นํ้า ทำให้มีการสะสมของเสียต่างๆ เป็นจำนวนมาก แต่เป้าหมายที่สำคัญที่สุดในการขยายการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าก็คือการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าแบบยั่งยืน ทั้งสิ่งแวดล้อมและสังคม (ความหมายของคำว่ายั่งยืน คือ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทั้งนํ้าและดิน รวมทั้งสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ) ดังนั้นเพื่อการพัฒนาระบบการเลี้ยงสัตว์นํ้าที่ยั่งยืนจึงมีการนำเทคโนโลยีไบโอฟลอค (biofloc technology) มาใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า

เทคโนโลยีไบโอฟลอค คือ การใช้ตะกอนจุลินทรีย์ (biofloc) มาช่วยในการย่อยสลายซากของเสีย (แอมโมเนีย) เปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นของดีเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ไบโอฟลอคสามารถเกิดได้เองตามธรรมชาติ แต่ถ้านํ้าไม่หมุนเวียนหรือเคลื่อนไหวฟลอคนั้นก็จะตกตะกอนสะสมที่พื้นก้นบ่อกลายเป็นของเสียเช่นเดิม ไบโอฟลอค (biofloc) จะเกิดเมื่อเกิดความสมดุลของอัตราส่วนของคาร์บอนและไนโตรเจนในนํ้า ถ้ามีการปล่อยของเสียจำพวกสารอินทรีย์ซึ่งมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบได้แก่ กรดอะมิโน (amino acid) โปรตีน (protein) ซึ่งจะกลายไปเป็นแอมโมเนียม (NH4+) และสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต (แหล่งคาร์บอน) ได้แก่ แป้ง (starch) นํ้าตาล (sugar) เซลลูโลส (cellulose) และพวกกากใย (fiber) ลงไปในนํ้าของเสียนี้จะถูกเปลี่ยนไปเป็นตะกอนจุลินทรีย์ (biofloc) ตะกอนจุลินทรีย์ (biofloc) นี้จะเป็นกลุ่มของจุลินทรีย์จำพวกเฮทเทอโรโทรฟิค (Heterotrophic bacteria) ที่มารวมตัวกันเป็นตะกอนแขวนลอย ขนาดของกลุ่มฟลอคอยู่ที่ 0.2-2.0 มิลลิเมตร ถ้ามีการเติมสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตลงไปอีกมันจะไปกระตุ้นให้ไบโอฟลอคดึงไนโตรเจน (แอมโมเนีย) มาใช้ในการสร้างเซลล์ใหม่มากขึ้นจำนวนจุลินทรีย์ก็จะเพิ่มมากขึ้น ปริมาณแอมโมเนียในนํ้าก็จะลดลง ซึ่งเนื้อเซลล์ใหม่ที่ว่านี้ก็คือสารพวกโปรตีน เมื่อสัตว์นํ้ากินจุลินทรีย์ที่รวมตัวเป็นฟลอคเข้าไปก็เท่ากับว่าสัตว์นํ้าได้กินอาหารที่มีโปรตีนนั่นเอง การใช้กลุ่มฟลอคในการกำจัดแอมโมเนียนี้จะเร็วกว่าการเกิดกระบวนการไนตริฟิคเคชั่น (nitrification) เนื่องจาก heterotropic bacteria จะเจริญเติบโตเร็วกว่า nitrifying bacteria ประมาณ 10 เท่า ทำให้นํ้าที่ใช้เลี้ยงสัตว์นํ้ามีคุณภาพดี การเปลี่ยนถ่ายนํ้าน้อยลงและส่งผลให้สัตว์มีสุขภาพดีตามไปด้วย

เทคโนโลยีชีวภาพ กับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ

การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในปัจจุบันประสบปัญหา และอุปสรรคมากมาย ที่ส่งผลกระทบต่อ การเลี้ยง และผลผลิต ตัวอย่างเช่น เกิดโรคระบาด, ปัญหาสภาพแวดล้อม และมลพิษ, ปัญหาสารเคมี และยาปฏิชีวนะตกค้าง, ปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อโรค รวมถึงปัญหาการกีดกันทางการค้า และ เนื่องจากกระแสความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพ ปราศจากการปนเปื้อนจากสารเคมี และยาปฏิชีวนะ ที่เป็นพิษต่อร่างกาย โดยมีกระบวนการผลิตที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการผลิตกุ้งกุลาดำเป็นสินค้าส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกมานานกว่า 10 ปี อีกทั้งยังเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีในการผลิตอีกด้วย ต้องดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตกุ้งกุลาดำของไทย ให้มีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพ เพื่อสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค และตลาดโลกต่อไปในอนาคต

ดังนั้นในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการผลิต เข้ามาสู่การผลิตระบบใหม่ คือ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ หรือ “Organic farm” ซึ่งการเลี้ยงกุ้งด้วยระบบชีวภาพนี้ ผู้เลี้ยงต้องคำนึงถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในบ่อเป็นสำคัญ เพราะเป็นระบบที่ไม่ต้องการให้ใช้ยา หรือสารเคมีใดๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยง แก้ไขโดยอาศัยกระบวนการบำบัดตามธรรมชาติ หรือใช้สารสกัดชีวภาพ เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานตามกระบวนการธรรมชาติ ให้เกิดเร็วขึ้นเท่านั้น เทคโนโลยีชีวภาพเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตกุ้ง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีชีวภาพ สามารถลดปัญหาต่างๆ ในกระบวนการผลิตได้ ดังนี้ ลดปัญหาการใช้สารเคมี, ลดปัญหาสารตกค้าง, ลดปัญหาการเกิดโรคติดเชื้อ, ลดปริมาณการใช้วัตถุดิบอย่างสิ้นเปลือง, ลดปัญหามลพิษ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม, ลดปัญหาการกีดกันทางการค้า เป็นต้น และการใช้เทคโนโลยีชีวภาพนี้ ยังเป็นการผลิตกุ้งกุลาดำ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เป็นการพัฒนาสู่ระบบการเลี้ยงแบบยั่งยืน อีกด้วย

จะเห็นได้ว่า ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่มีความหลากหลายทั้งชนิด และสายพันธุ์ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ หรือสารชีวภาพ ยังมีสารสกัดจากพืชธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า “สมุนไพร” รวมอยู่ด้วย สมุนไพร สามารถนำมาใช้เป็นสารทดแทนยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ได้ เนื่องจากสารสกัดจากสมุนไพรบางชนิด มีคุณสมบัติในการบำบัด และรักษาโรคในกุ้งกุลาดำได้เป็นอย่างดี

การร่วมมือการวิจัยพัฒนาธุรกิจปศุสัตว์ในประเทศไทย

การพัฒนาความร่วมมือในระดับภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่างๆ ธุรกิจปศุสัตว์ในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาคเอกชนมีความเข้มแข็ง สังเกตได้จาก ถึงแม้จะมีเหตุการณ์ที่กระทบต่อธุรกิจต่างๆ เช่น เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองแต่ก็ไม่ค่อยมีผลกระทบต่อธุรกิจมากนัก และองค์กรต่างๆจำเป็นจะต้องให้ความร่วมมือ เช่น ต้องรีบดำเนินสร้าง Road Map ในอุตสาหกรรมของตัวเอง การสร้างองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการเริ่มจากภาครัฐจะต้องให้ความสนับสนุน และประสานกับสมาคมต่างๆทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งทำได้โดยการใช้การเจรจาทางธุรกิจ หรือไปศึกษาดูงานที่ต่างประเทศ จะทำให้ได้มีโอกาสพบบุคลากรมากมาย เป็นการสร้างเครือข่าย จะเป็นผลให้มีโอกาสทำปศุสัตว์ได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถเริ่มต้นเองระดับสมาคมได้ เมื่อเริ่มแล้วมีแผนชัดเจน สามารถขอการสนับสนุนจากภาครัฐได้
การวางเกณฑ์และแก้ปัญหา Non-tariff Barriers มีการวางหลักเกณฑ์ ในการทำข้อตกลงระหว่างประเทศว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกำแพงภาษีระหว่างประเทศสมาชิกให้ต่ำลง และลดอุปสรรคที่ไม่ใช้ภาษีให้มีกฎเกณฑ์ที่สามารถกำกับกันได้
การจัดการโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ การควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากมีโรคใหม่เกิดขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ ถ้ามีความรู้ก็จะสามารถสังเกตเห็นได้ได้ทันและสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ทันท่วงที ถึงแม้จะเป็นความเสียหายเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นก็ตาม โดยเฉพาะโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ โรคไข้หวัดนก, โรค EMS ในกุ้ง, โรคปากเท้าเปื่อยในสุกร วัว และโรคนิวคาสเซิลในไก่ไข่ ไก่เนื้อ

การวิจัยพัฒนาต้นน้ำพ่อแม่พันธ์ประเทศไทยประสบปัญหาในการผลิตพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ดีมากๆ ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อที่ว่าต้องเอาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาจากต่างประเทศ ดังนั้นทางภาครัฐจำเป็นที่จะต้องเข้ามาส่งเสริมการพัฒนาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีคุณภาพที่ดี เพื่อให้ได้ลูกที่ผลิตออกมามีคุณภาพที่ดีและมีจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ได้รับกำไรมากขึ้น การบริหารปัจจัยการผลิตและวัตถุดิบอาหารสัตว์ วัตถุดิบเป็นปัจจัยการผลิตหนึ่งที่สำคัญ มีผลต่อคุณภาพของสัตว์ที่ผลิตออกมาได้ ซึ่งส่วนประกอบอาหารสัตว์หลักๆ เช่น ข้าวโพด ยังขาดแคลนในช่วงนอกฤดูกาลที่มีผลการผลิตต่ำ และกากถั่วเหลืองที่มีผลผลิตในประเทศต่ำลงทุกๆ ปี โดยในปีนี้น่าจะมีผลผลิตไม่ถึง 70,000 ตัน จากความต้องการกว่า 2,000,000 ตันต่อปี

เทคโนโลยีชีวภาพทางวิทยาการสืบพันธุ์เพื่อการปศุสัตว์

เทคโนโลยี ชีวภาพทางวิทยาการสืบพันธุ์ หรือ Biotechnology คือ เทคนิคการนำสิ่งแวดล้อม หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาพัฒนาเพื่อการปรับปรุงพืช สัตว์ หรือผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อประโยชน์เฉพาะตามที่มนุษย์ต้องการ ในการผลิตและปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ได้นำเทคโนโลยีชีวภาพทางวิทยาการสืบพันธุ์  มาใช้ ซึ่งหมายถึง การใช้วิธีการทางชีววิทยาเพื่อผลิตลูกหลานเพิ่มขึ้น

จุดประสงค์ของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางวิทยาการสืบพันธุ์ มีประโยชน์หลายประการดังนี้
1. เพื่อปรับปรุงพันธุกรรมให้รวดเร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ช่วยย่นระยะเวลาในการปรับปรุงและทดสอบพันธุ์
3. ช่วยป้องกันโรคเข้ามาในประเทศ และออกจากประเทศ
4. ช่วยในการรักษาพันธุกรรมของสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์
5. เพื่อแก้ไขปัญหาการผสมติดยากซึ่งเกิดจากความล้มเหลวในการปฏิสนธิ
6. เป็นเทคนิคพื้นฐานสำหรับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ก้าวหน้ามาก  เช่น การโคลนนิ่งสัตว์ (cloning)
7. ใช้ในงานวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ งานวิจัยทางสัตวแพทย์ เภสัชกรรม และการแพทย์

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีชีวภาพทางวิทยาการสืบพันธุ์ในการผลิตและปรับปรุงพันธุ์สัตว์ มีความเจริญก้าวหน้าตามลำดับ แบ่งออกเป็น 4 ยุค ดังนี้
ยุคที่ 1 การผสมเทียม (Artificial  Insemination : AI)
เป็นเทคโนโลยีชีวภาพทางวิทยาการสืบพันธุ์รุ่นแรกที่นำมาใช้แพร่หลายมากที่สุด ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการนำเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาใช้ในวงการปศุสัตว์  มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่พันธุกรรมในสายพ่อพันธุ์ การผสมเทียมได้เริ่มในปศุสัตว์ (farm animal) การผสมเทียมในแกะและโคเจริญก้าวหน้ามาก หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆ ได้ประจักษ์ถึงคุณประโยชน์ของการผสมเทียมในการปรับปรุงและขยายพันธุ์สัตว์ ได้เริ่มงานผสมเทียมขึ้นใหม่ทั่วโลก ซึ่งในยุคนี้ได้เริ่มมีการผสมเทียมในสุกร ไก่งวง ไก่ และกระบือ

ยุคที่ 2 การย้ายฝากตัวอ่อน (Embryo Transfer : ET)
เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งปรับปรุงในสายแม่พันธุ์ โดยนำตัวอ่อนจากแม่สัตว์ตัวให้ ไปฝากในสัตว์ตัวรับ เพื่อให้ตั้งท้องแทนซึ่งแม่สัตว์ตัวให้ตัวหนึ่งสามารถผลิตตัว อ่อนได้เป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถเพิ่มสัตว์พันธุ์ดีได้เป็นจำนวนมาก และปรับปรุงพันธุ์ได้เร็วกว่าการผสมเทียม เทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อนได้พัฒนามาแล้กว่า 20 ปี ด้วยข้อจำกัดด้านต้นทุนค่อนข้างสูงและประสิทธิผล ทำให้การย้ายฝากตัวอ่อนไม่แพร่หลายกว้างเท่ากับการผสมเทียม

ยุคที่ 3 การแยกเพศตัวอ่อน การปฏิสนธินอกร่างกาย  การโคลนนิ่ง
เป็น เทคโนโลยีที่ได้มีการพัฒนามาพร้อมๆ กันประมาณ 10 ปี ที่ผ่านมา โดยอาศัยพื้นฐานจากเทคโนโลยีในยุคที่ 1 และ2 ได้มีการพัฒนาขึ้นในหลายประเทศในทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ  ทวีปออสเตรเลีย  รวมทั้งประเทศญี่ปุ่น ส่วนในประเทศไทยได้มีการพัฒนาขึ้นแล้ว

ยุคที่ 4 การถ่ายฝากยีนส์
เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงต้องอาศัยเทคโนโลยียุคที่ 1, 2 และ 3 เป็นพื้นฐาน จุดมุ่งหมายของการถ่ายฝากยีนส์เพื่อสร้างสายพันธุ์ใหม่ ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ดีเด่น เช่น ให้ผลผลิตน้ำนม และเนื้อสูง ความต้านทานโรคดี อัตราการแลกเนื้อและการเจริญเติบโตดี ทั้งนี้เนื้อสัตว์ที่เกิดจากการถ่ายฝากยีนส์ เรียกว่า transgenic animal เทคโนโลยีการถ่ายฝากยีนส์ได้มีการพัฒนาขึ้นแล้วในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่ถึงขั้นนำไปปฏิบัติใช้ในสัตว์เศรษฐกิจสำหรับประเทศไทยได้เริ่มมี การศึกษาบ้างแล้ว

วิวัฒนาการงานผสมเทียมในประเทศไทย
กรมปศุสัตว์ได้เริ่มงานผสมเทียมโค ภายหลังที่นายสัตวแพทย์ ดร.ทศพร  สุทธิคำ ได้กลับจากการศึกษาอบรมที่ศูนย์อบรมนานาชาติครั้งที่ 1 จัดขึ้นโดย FAO  ภายใต้การอำนวยการของ ศาสตราจารย์ นิลล์ ลาเกอร์ลอฟ ระหว่างปี พ.ศ. 2497 – 2498  ในที่สุดศาสตราจารย์ นิลล์ ลาเกอร์ลอฟ ได้แนะนำให้เริ่มงานผสมเทียมขึ้นในท้องที่ 2 แห่งคือที่จังหวัดเชียงใหม่ และกรุงเทพฯ ซึ่งมีการเลี้ยงโคนมมาก หลังจากนั้นได้มีการสั่งซื้ออุปกรณ์ผสมเทียมที่จำเป็นจากประเทศสวีเดน และอินเดีย มาดำเนินการรีดเก็บน้ำเชื้อพ่อโคพันธุ์บราวน์สวิส ซึ่งคัดเลือกมาจากสถานีบำรงพันธุ์สัตว์ของกรมปศุสัตว์

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID ด้านการเกษตรและปศุสัตว์

เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากทั่วโลกในขณะนี้ ด้วยเชื่อว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจ เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ในระบบค้าปลีก ค้าส่ง การผลิต จนกระทั่งการบริหารจัดการ Supply Chain และระบบ Logistic ตลอดจนระบบรักษาความปลอดภัย (Security & Access Control) และคาดว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาททดแทนระบบบาร์โค้ด ด้วยคุณสมบัติของตัวชิปที่มีศักยภาพสูงกว่า

อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยี RFID เป็นระบบเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเพิ่มขีดความสามารถในการคำนวณและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และส่งกำลังโดยคลื่นแม่เหล็กหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแทนการสัมผัสทางกายภาพ คาดการณ์ ว่าตลาดของเทคโนโลยี RFID ในปี ค.ศ. 2008 จะมีมูลค่ารวมทั่วโลกมากถึง 124,000 ล้านบาท โดยสหรัฐอเมริกา และยุโรปจะเริ่มใช้งานระบบ RFID ในระบบ Supply Chain ในปีหน้า ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวในเทคโนโลยีดังกล่าวทั่วโลก

ปัจจุบันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID สามารถ แบ่ง Application การใช้งานได้ 4 กลุ่มหลัก คือ
• Access Control เป็นลักษณะของ Personal Identification เกี่ยวกับการควบคุมการเข้า-ออกอาคารหรือสถานที่ต่างๆ
• Member Card เพื่อสนับสนุนการใช้งานด้าน Retail และ e-Purchasing
• Logistic และ Supply Chain Management
• Animal Tracking งานที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตรและปศุสัตว์ ซึ่งประเทศไทยสามารถนำ เทคโนโลยี RFID มาประยุกต์ใช้งานได้เป็นอย่างดี

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านการเกษตรและปศุสัตว์ มีการส่งออกอาหารเป็นอุตสาหกรรม ภายในประเทศ ต้องมีการทำ Tracking Animal โดยเฉพาะในแง่ของ Farm Automation เพื่อให้สามารถ Control และติดตามพฤติกรรมของสัตว์ในฟาร์มได้ ทั้งยังเป็นการดำเนินการเพื่อทำ Traceability เกี่ยวกับโรคระบาดต่างๆ ด้วย เพราะอุตสาหกรรมอาหารนั้นมีมาตรการ Food Traceability ขึ้นมาเพื่อสร้างระบบที่เป็น National ID System ที่ดี มีการ Tracking ที่ดี สามารถกำจัดโรคระบาดได้ สร้างให้เกิดโอกาสในการส่งออกต่างประเทศมากขึ้น เพราะเวทีการค้าใน ระดับประเทศมีการบังคับใช้มาตรการทางด้าน Food Traceability อย่างจริงจังมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องให้ ความสำคัญกับการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาปศุสัตว์

กรมปศุสัตว์มีบทบาทในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาให้กรมเป็นศูนย์กลางภูมิปัญญาด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านปศุสัตว์ให้เข้มแข็ง รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมเพื่อลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ในการประกอบอาชีพด้านการปศุสัตว์ในทุกด้าน อาทิ การสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วนและเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ …

สารสนเทศด้านการเกษตร คือ รากฐานสำคัญ และเป็นสิ่งจำเป็นอันจะขาดมิได้ในการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย เพราะสารสนเทศเป็นที่มาของความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งในด้านการผลิต การจัดการการตลาด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ฯลฯ การพัฒนาสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเกษตร เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เพราะว่าประเทศไทยจะมีความเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่กว่าร้อยละ 60 ของประชาชนในประเทศก็ยังอยู่ในภาคเกษตรกรรม วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศที่ผ่านมาก็ยังตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของภาคเกษตร ในฐานะที่เป็นภาคเศรษฐกิจที่พึงพาได้อย่างแท้จริง ของประชาชนในประเทศ

การพัฒนาสารสนเทศด้านการเกษตรให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบในลักษณะของเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานผู้ผลิตสารสนเทศทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนถึงผู้ใช้สารสนเทศ ทั้งที่เป็นองค์กรและบุคคล

เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ทางการปศุสัตว์รได้หลายประการดังนี้
1. ใช้ไอทีเป็นสื่อ (Media)ในการ สื่อสาร เผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรนอกเหนือจากสื่ออื่น ๆ
2. จัดทำโปรแกรมเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
3. ประยุกต์ใช้ไอทีในการสืบค้นข้อมูลข่าวสารความรู้ด้านการปศุสัตว์จากแหล่งความรู้
4. เป็นช่องทางการตลาดช่องทางหนึ่งด้วยระบบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E- commerce)

ปศุสัตว์ ประกอบด้วย ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสัตว์ โครงการที่สำคัญ พ.ร.บ./กฏกระทรวง/ระเบียบ ข้อมูลสถานการณ์ปศุสัตว์ ข้อมูลสถิติปศุสัตว์ ข้อมูลนำเข้า/ส่งออก ฯลฯ

ข้อที่ควรตระหนักว่าในการดำเนินงานส่งเสริมการปศุสัตว์ด้วยเทคโนโลยีที่มีความล้ำหน้าและทันสมัยนั้นมิใช่ว่าจะมีแต่ผลในทางบวกแต่เพียงอย่างเดียว แต่ผลในทางลบก็มีคู่ขนานกันมา หากแต่ว่าควรต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนมิเช่นนั้นอาจประสบความล้มเหลวในการดำเนินการได้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นส่งผลให้ระบบการส่งเสริมการเปศุสัตว์ ที่กำลังเกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นควรต้องมองให้เห็นภาพที่จะเกิดขึ้นและพยายามดำเนินวิธีการแก้ไขป้องกันควบคู่กันไปจึงจะช่วยให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทำฟาร์มปศุสัตว์ในอนาคตจะต้องคำนึงถึงมาตรฐานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

จากกระแสโลกมุ่งเน้นไปที่การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

ส่งผลให้มีการยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมตามไปด้วย และการลงทุนในด้านสิ่งแวดล้อมย่อมต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลเพื่อให้ผ่านการรองรับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม กฎเกณฑ์เหล่านี้จะเป็นตัวคัดกรองผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หากไม่มีเงินลงทุนที่สูงพอแล้ว แทบจะมองไม่เห็นหนทางที่จะได้เป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสัตว์เลย เพราะหากไม่ลงทุนในด้านสิ่งแวดล้อมและทำความเข้าใจกับผู้คนรอบด้านแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการต่อต้านจากชุมชน-ท้องถิ่นที่ตั้งของฟาร์มนั้นๆ

ปัจจุบันคนไทยประสบปัญหาต่างๆมากมาย

ทั้งทางด้านภัยธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ความยากจนจึงเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข แต่การใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวทางที่ในหลวงทรงแนะนำกับเกษตรกร และประชาชนทั่วไปเป็นแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาและทำให้สามารถอยู่แบบพึ่งพาตนเองได้ การทำการเกษตรแบบพอเพียงมีหลากหลายรูปแบบเช่นการทำการเกษตรแบบทฤษฎีใหม่โดยการจัดพื้นที่ให้เหมาะสม การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การทำการเกษตรอินทรีย์ วนเกษตร และเกษตรธรรมชาติ ดังนั้นการอบรมให้ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เข้ารับการอบรมจึงช่วยให้ผู้อบรมมีความรู้และประสบการณ์ในการทำฟาร์มปศุสัตว์แบบพอเพียงได้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้

ความยากลำบากในการประกอบอาชีพทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในอนาคตจากการถูกบีบให้เข้าหลักเกณฑ์รักษาสิ่งแวดล้อม จะส่งผลให้กลุ่มฟาร์มรายย่อยมีจำนวนน้อยลง แต่เกษตรกรรายย่อยก็ยังมีทางออกและสามารถอยู่รอดได้ โดยการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนในรูปสหกรณ์หรือนิติบุคคล เพื่อให้เกิดความร่วมมือและเพิ่มศักยภาพในการผลิตและการตลาด หากมีพลังมากๆก็สามารถกลายเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ได้เช่นกัน แม้ราคาจะสูงขึ้นจากต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม แต่ผู้บริโภคในอนาคตก็คงพร้อมที่จะจ่ายให้แก่ผลิตภัณฑ์ที่มีการตระหนักในประเด็นนี้ ซึ่

ปัจจัยเสี่ยงของการทำธุรกิจปศุสัตว์

1)วัฏจักรของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ เนื่องจากสินค้าปศุสัตว์เป็นสินค้าโภคภัณฑ์เก็บไม่ได้ มีขึ้นลงขึ้นกับอุปสงค์และอุปทาน หากอุปทานขาด 5% ราคาขึ้นไปได้ถึง 15-20% หรือหากอุปทานเหลือ 5-10% ราคาก็ลงได้ถึง 15-20% ได้เช่นเดียวกัน
2)วัตถุดิบอาหารสัตว์โดยเฉพาะ ข้าวโพด-กากถั่วเหลือง-มันสำปะหลัง ได้ถูกนำไปใช้เพื่อผลิตเป็นเอทานอล ทำให้วัตถุดิบขาดแคลนเพราะเครื่องยนต์มาแย่งสัตว์กิน และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนค่าขนส่ง
3)ปัญหาโลกร้อนส่งผลให้อุณหภูมิภายในโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบทำให้ฝนตกไม่เป็นไปตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้งยาวนานขึ้น เกิดโรคระบาดแมลงศัตรูพืชหรือพายุอย่างรุนแรง
4)การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลต่อราคาสินค้าทุกตัวที่ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งปัญหาโลกร้อนที่ก่อให้เกิดความขาดแคลนอาหารในหลายพื้นที่ได้ร่วมกันแย่งอุปทานในตลาด
5)รัฐบาลชุดที่ผ่านมาเป็นรัฐบาลลักษณะชั่วคราว ทำให้ไม่สามารถอนุมัติงบฯและโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้
6)ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ในอนาคตหากวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น
7)ปัญหาโรคระบาดและคุณภาพของวัตถุดิบ เนื่องจากปศุสัตว์ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของโรคระบาดโดยเฉพาะการเลี้ยงสุกร